บริการสืบค้น

Custom Search
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี
ลักษณะโดยรวมของภาคตะวันออกในปัจจุบันคือ จังหวัดระยองนั้น ด้านตะวันตกและด้านเหนือเป็นเขตอุตสาหกรรม ด้านตะวันออกและด้านใต้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติและพื้นที่ท่องเที่ยว สำหรับจังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณี ขนาดใหญ่ ส่วนจังหวัดตราดนอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะสร้างสนามบินพาณิชย์ เพื่อเชื่อมต่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
ไม่เพียงแต่จะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นงานเพื่อเป็นสินค้าออกแล้ว จังหวัดทั้ง 4 ในภาคตะวันออกยังเป็น สุดยอดของแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดด้วย ทุกองค์ประกอบของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงถูกรวมไว้ ณ ภูมิภาคแห่งนี้
จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และท้องทะเลที่กว้างใหญ่ ประชากรจึงประกอบอาชีพที่ หลากหลาย ได้แก่ สวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด สวนยางพาราที่นำพันธุ์มาจากภาคใต้ มีการทำประมง จำหน่ายอาหารทะเลสด รวมทั้งอาหารแปรรูปต่าง ๆ มีโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งกำหนดให้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนักที่ต้องใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ เป็นแหล่งรวมแร่อัญมณีที่มีค่าของประเทศ รวมไปถึงการเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกด้วย
ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นสนามบินของทหาร ใช้เป็นที่จอดเครื่องบินขณะร่วมซ้อมรบ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังใช้เป็นสนามบินสำหรับเครื่องบินเช่าเหมาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด จันทบุรี ชลบุรี ตราด และ ระยอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเทือก เขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจนจดกับเทือกเขาพนม ดงรัก ซึ่งทอดยาวจากเหนือถึงใต้ เป็นเส้นแบ่งอาณาเขต ระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย มีแม่น้ำสาย สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลที่เรียบยาว โค้งเว้า ท้องทะเลตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่ง ที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในจังหวัดตราด เกาะเสม็ด เกาะมัน จังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี ส่วนบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนโคลนตมที่แม่น้ำสายต่างๆ พัดพามา เป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในภูมิภาคตะวันออก
เนื่องจากบรรพบุรุษของไทยในดินแดนนี้ เป็นนักรบที่กล้าหาญ มีความรู้ความสามารถ ฉลาดหลักแหลม มีปฏิภาณ ไหวพริบดี จึงรู้คิดค้นปรับเปลี่ยนท่วงท่าการต่อสู้ จนกลายเป็นศิลปะป้องกันตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ได้แก่ การฟันดาบ กระบี่กระบอง และการชกมวย


นอกจากนี้สภาพภูมิประเทศของภาคกลางยังเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมากมาย ได้แก่ ภูเขาใหญ่น้อย หลายแห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำอันสวยงาม มีพื้นที่ป่าชุ่มชื้นเป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมเป็นน้ำตก มีเกาะแก่งกลางลำน้ำ และ ด้วยเหตุผลที่ภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง คือ กรุงเทพมหานคร จึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของประเทศ

เนื่องจากบรรพบุรุษของไทยในดินแดนนี้ เป็นนักรบที่กล้าหาญ มีความรู้ความสามารถ ฉลาดหลักแหลม มีปฏิภาณ ไหวพริบดี จึงรู้คิดค้นปรับเปลี่ยนท่วงท่าการต่อสู้ จนกลายเป็นศิลปะป้องกันตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ได้แก่ การฟันดาบ กระบี่กระบอง และการชกมวย

 

ด้วยความที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ มีประชากรหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ จึงก่อให้เกิดงานศิลป์ผสมผสานที่งดงาม ตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นมรดกของประเทศสืบทอดมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน และบางแห่งทรงคุณค่าจนได้รับการ ยกย่องให้เป็นมรดกของโลกที่ต้องรักษาไว้ชื่นชมร่วมกันตราบนานเท่านาน อีกทั้งวัฒนธรรมประเพณีและการละเล่นต่างๆ ซึ่งยังคงมีให้ชมได้ในหลายพื้นที่ของจังหวัดในภาคกลาง เช่น ระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เพลงอธิษฐาน เพลงเหย่ย เพลงแม่ศรี เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงลำตัด เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว กลองยาว และลิเก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงในราชสำนักที่ภายหลังได้นำออกเผยแพร่ทั่วไป เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก และดนตรีไทย
จากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ได้กล่าวว่า ภาคกลางเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 11-16 ยุคที่ชนชาติมอญครอบครองดินแดนแถบนี้ จากนั้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ชนชาติขอมหรือ เขมรก็เข้ามาเรืองอำนาจ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลพบุรี และขยายอาณาเขตออกไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี เพชรบุรี และสิงห์บุรี


เมื่อ พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่บริเวณตำบล หนองโสนหรือบึงพระราม นับตั้งแต่นั้นมากรุงศรีอยุธยาก็เจริญรุ่งเรืองเป็นบึกแผ่น มีการขยายอาณาเขตและติดต่อ ค้าขายกับชาวตะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส ฝรั่งเศส ฮอลันดา และอังกฤษ รวมถึงการรับอารยธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ ก็ได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในดินแดนแถบนี้
พื้นที่ภาคกลางประกอบด้วย 21 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ จังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และ อ่างทอง ส่วน กรุงเทพมหานคร ไม่นับว่าเป็นจังหวัด เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษ


เนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก แม่กลอง ท่าจีน แควน้อย แควใหญ่ ฯลฯ พื้นที่แถบนี้จึงอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าว มีสวนผลไม้ และทำไร่ นอกจากนี้ยังมีกิจการปศุสัตว์ เลี้ยงโคพันธุ์เนื้อพันธุ์นม มีฟาร์มไก่ และเลี้ยงปลา ส่วนจังหวัดที่อยู่ติดชายทะเลก็ทำการประมง และนาเกลือ รวมไปถึงอาชีพรับจ้างในโรงงาน อุตสาหกรรม กิจการพาณิชย์ รับราชการ และงานหัตถศิลป์อีกมากมาย